วิธีทำกระเป๋าเบคอนกระรอกน้อย



  วิธีทำกระเป๋าเบคอนกระรอกน้อย  




 













































 

 



  



 

"แทนคำขอบคุณ"...

เนื่องจากทางร้านได้รับการอุดหนุนจากลูกค้าทุกท่านเป็นอย่างดีเสมอมา จึงเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญที่สุด เป็นกำลังใจและแรงผลักดันให้ทางร้านพยายามจัดทำผลงานควิลท์พร้อมวิธีการทำประกอบเผื่อเป็นไอเดียเพิ่มเติมให้ทุกท่านกันนะคะ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนและคอยติดตามผลงานมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ 

 

ผลงานชิ้นนี้เป็นกระเป๋าใส่เศษสตางค์ใบเล็ก ขนาดเหมาะมือ มีความจุมากเนื่องจากปากกระเป๋าสามารถเปิดออกได้กว้าง หยิบสิ่งของด้านในได้สะดวก ด้านหน้าออกแบบเป็นลายแอพพริเครูปกระรอกน้อย คู่กับอาหารที่กระรอกน้อยโปรดปราน คือเอคอร์นขนาดยักษ์บริเวณด้านหลัง

 

ด้านข้างรูปกระรอกน้อยและเอคอร์น ทางร้านต้องการให้ทุกท่านได้เรียนรู้เทคนิคเพิ่มเติมในการทำงานควิลท์ ในที่นี้จึงเลือกเทคนิคการต่อผ้าลาย Flying Geese มาเสริมเข้าไปด้วยนะคะ ผลงานควิลท์ชิ้นอื่นหากเป็นไปได้ทางร้านจะพยายามนำเทคนิคใหม่ๆ มาสอดแทรกเพิ่มเติมเข้าไปในผลงานให้ทุกท่านได้ทดลองทำ หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานชิ้นอื่นได้เช่นกันนะคะ ท่านใดที่สนใจจะคอยติดตามชมผลงานของทางร้านก็ได้นะคะ

 

เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นขออธิบายชื่อของลาย Flying Geese โดยย่อก่อนนะคะ คำว่า Flying แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "บิน" ส่วนคำว่า "Geese" แปลเป็นภาษาไทยก็คือ "ห่าน" นะคะ โดยส่วนใหญ่แล้วลายนี้จะนำมาต่อกันหลายชิ้นทั้งแนวตรงบ้างหรือสลับกันบ้าง แต่เมื่อมองโดยภาพรวมแล้วจะคล้ายกับฝูงห่านที่โบยบินอยู่บนท้องฟ้าค่ะ จึงได้ชื่อว่า "Flying Geese" นะคะ

ลาย Flying Geese จะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้นะคะ

1. สามเหลี่ยมใหญ่ตรงกลาง  เรียกว่า "Geese"  (ตามตัวอย่างเป็นผ้าสีเลือดหมู)

2. สามเหลี่ยมเล็กด้านข้างซ้าย-ขวา  เรียกว่า "Sky"  (ตามตัวอย่างเป็นผ้าสีชมพู) 

 

สำหรับโทนสีผ้าที่เลือกใช้ทำกระเป๋าเบคอนกระรอกน้อยนี้ ทางร้านเลือกเป็นผ้าโทนสีน้ำตาลเสียส่วนมากเพื่อให้เข้ากับสีของตัวกระรอกที่มีสีน้ำตาล พื้นด้านล่างเป็นโทนสีน้ำตาลขุ่นไม่ให้เลอะง่ายค่ะ ผ้าที่เลือกใช้ในการทำ Flying Geese ในส่วนของตัว Geese เป็นผ้าโทนสีเข้ม และส่วนของ Sky เป็นผ้าโทนสีอ่อนเพื่อให้ตัดกัน จะทำให้ลาย Geese ดูเด่นชัดมากขึ้นค่ะ ท่านใดจะลองเปลี่ยนเป็นผ้าลายอื่นหรือสีอื่นก็ได้นะคะ ใช้หลักการเลือกสีผ้าในทำนองเดียวกันนี้ค่ะ หรือจะลองเปลี่ยนตัว Geese เป็นผ้าโทนสีอ่อน และ Sky เป็นผ้าโทนสีเข้มก็ได้นะคะ

 

 

อุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นทั่วไป

 

1. เข็ม Click

 

          - เข็มเย็บทั่วไป (Sharps Needles) No.10

 

          - เข็มควิลท์ (Quilting Needles) No.9 : ควิลท์รอบกระรอก, ควิลท์รอบเอคอร์น

 

          - เข็มแอพพริเค (Applique Needles) No.12 : แอพพริเคกระรอก, แอพพริเคเอคอร์น

 

          - เข็มเย็บหนังหรือเข็มปัก (Embroidery Needles) No.3-9 : เย็บปากกระเป๋า

          - เข็มปัก (Embroidery Needles) No.3-9 : ปักตากระรอก, ปักหางกระรอก

 

2. ที่สนเข็ม (หากมี) Click

3. เข็มหมุด Click

          - เข็มหมุดหัวแบน : กลัดชิ้นงานทั่วไป

          - เข็มหมุดหัวแก้ว : กลัดเวลาเย็บ Flying Geese ด้วยจักร เนื่องจากเข็มมีความบางมากทำให้สามารถเย็บด้วยจักรทับได้โดยไม่ต้องคอยดึงเข็มหมุดออกในขณะเย็บ อย่างไรก็ตามควรใช้ความระมัดระวังในการเย็บนิดนึงนะคะ เพราะถ้าจังหวะที่เข็มจักรและเข็มหมุดตรงกันพอดี เข็มหมุดก็อาจจะงอได้บ้างค่ะ Click

4. กรรไกรตัดด้าย Click

5. กรรไกรตัดผ้า/ กระดาษ/ พลาสติก Click

6. เหล็กแหลม : ดันมุมตะเข็บ, ช่วยใส่ชิ้นงานเข้าไปในปากกระเป๋าเวลาเย็บปากกระเป๋า Click

7. ไม้บรรทัด (แบบใส) Click

8. ปากกาเขียนผ้า (แบบลบออกได้ด้วยน้ำ, แบบระเหย หรือลบด้วยความร้อน) และปากกาเขียนเทมเพลต (แผ่นพลาสติกวาดแพทเทิร์น) Click

9. ปลอกนิ้ว : ดันเข็ม, ควิลท์, กันลื่นขณะดึงเข็ม Click

10. ปลอกข้อนิ้ว : สวมข้อนิ้วกันเส้นด้ายบาดนิ้วเวลาดึงด้ายแรง เช่น ขณะเย็บปากกระเป๋า Click

11. ด้ายควิลท์ Click

      ตามตัวอย่างทางร้านใช้ด้าย YLI (USA) ด้ายควิลท์มือ 400 หลา No.2 สีน้ำตาลอ่อน Ecru ค่ะ Click

12. ด้ายแอพพริเค (สำหรับสอยชิ้นส่วนแอพพริเค) Click

       ตามตัวอย่างทางร้านใช้ด้าย YLI (USA) Applique 250 หลา No.22 สีน้ำตาลอมเทา Taupe ค่ะ Click

13. ด้ายล่องหน : ซ่อนเส้นด้ายเมื่อเย็บกระดุม Click

14. ด้ายเย็บปากกระเป๋า : ด้ายเย็บปากกระเป๋า หรือด้ายควิลท์ Click

15. เตารีดอเนกประสงค์ : รีดล้มตะเข็บเมื่อต่อผ้าลาย Flying Geese Click

 

 อุปกรณ์ทั่วไปเพิ่มเติม [ กรณีตัดผ้าโดยใช้ Rotary Cutter ] Click

1. แผ่นรองตัด Click

2. Rotary Cutter Click

3. ไม้บรรทัดแบบหนา(สำหรับใช้กับ Rotary Cutter) Click

 

อุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นเฉพาะชิ้นงาน

1. ปากกระเป๋าทองเหลือง สปริงกลม ขนาด 7 cm Click

2. ผ้าทำแอพพริเคกระรอก & เอคอร์น สามารถแอพพริเคได้โดยใช้เทคนิค เช่น

          a. แอพพริเคแบบทั่วไป : ลอกแพทเทิร์นลงบนแผ่นพลาสติก นำมาวาดแบบบนผ้าแล้วตัดผ้าเพื่อนำมาสอย

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคแบบทั่วไปเพิ่มเติมได้ใน "วิธีเย็บกระเป๋าปิ๊กแป๊ก Sheepy Farm + วิธีแอพพลิเคโดยละเอียด" นะคะ Click

          b. แอพพริเคโดยใช้วิราเน่ หรือผ้ากาว(บาง)

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคโดยใช้วิราเน่ หรือผ้ากาว(บาง) เพิ่มเติมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click

          c. แอพพริเคโดยใช้กระดาษ Freezer Paper

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคโดยใช้กระดาษ Freezer Paper ได้ใน "วิธีทำรองเท้าใส่ในอาคาร Flowers & Bee Slippers" นะคะ Click

 

     สำหรับผ้าที่ต้องใช้ทำชิ้นส่วนแอพพริเค (ผ้าทอ) มีดังนี้

          2.1 ผ้าพื้น (สีชมพู) : รหัส sho109-0019 ผ้าทอจัดเซ็ท (Set-8pcs) Click

          2.2 ผ้าแอพพริเคหัวกระรอก, ตัวกระรอก, หางกระรอก (สีน้ำตาล) : รหัส sho109-0030 ผ้าทอจัดเซ็ท (Set-7pcs) Click

          2.3 ผ้าแอพพริเคเอคอร์นยักษ์ (สีน้ำตาลเข้ม) : รหัส sho109-0030 ผ้าทอจัดเซ็ท (Set-7pcs) Click

          2.4 ผ้าแอพพริเคจุกเอคอร์น & ใบไม้ (สีเขียว) : รหัส sho109-0030 ผ้าทอจัดเซ็ท (Set-7pcs) Click

3. ผ้าทำ Flying Geese (ด้านข้างซ้าย - ขวา)

          3.1 ผ้าพื้น (สีชมพู) : รหัส sho109-0019 ผ้าทอจัดเซ็ท (Set-8pcs) Click

          3.2 ผ้าทำ Geese (สีชมพูเข้ม) : รหัส sho109-0025 ผ้าจัดเซ็ท (Set-9pcs) สีเข้ม Click

          3.3 ผ้าทำ Sky (สีชมพู) : รหัส sho109-0019 ผ้าทอจัดเซ็ท (Set-8pcs) Click

4. ผ้าซับใน (Cotton ไทย) Click

5. ใย Click

ตามตัวอย่างทางร้านใช้ใยสปริง (ญี่ปุ่น) 250 g เพื่อให้กระเป๋าอยู่ทรงมากขึ้นนะคะ แต่มีข้อเสียคือเวลาสอดชิ้นงานเข้าไปในปากกระเป๋าเมื่อเย็บปากกระเป๋าจะสอดยากนะคะ ท่านใดที่เกรงว่าจะสอดและเย็บลำบากจะลองใช้ใยบางลง เช่น 200 g ก็ได้นะคะ

6. ไหมปัก

7. กระดุม (จมูกกระรอก) Click

 

แพทเทิร์น (Pattern) : แพทเทิร์นของกระเป๋าเบคอนกระรอกน้อยใบนี้มีแถมฟรี เมื่อสั่งซื้อปากกระเป๋าทองเหลือง สปริงกลม ขนาด 7 cm นะคะ Click

 

ลำดับขั้นตอนการทำกระเป๋าเบคอนกระรอกน้อยโดยภาพรวม

1. เตรียมชิ้นส่วนสำหรับเป็นผ้าชิ้นนอก

          1.1 ทำชิ้นส่วนแอพพริเค

          1.2 ทำชิ้นส่วน Flying Geese

2. ควิลท์ (Quilt) คือ การเย็บชิ้นส่วนหลัก 3 ชิ้นเข้าด้วยกัน คือ

          2.1 ผ้าชิ้นนอก

          2.2 ใย

          2.3 ผ้าซับใน

3. ประกอบชิ้นส่วนตามข้อ 2 เข้าด้วยกันเป็นตัวกระเป๋า

4. เย็บปากกระเป๋า

 

ลำดับขั้นตอนการทำลาย Flying Geese โดยภาพรวม

          วิธีการทำ Flying Geese สามารถทำได้หลายวิธี วิธีการนี้เป็นวิธีการทำ Flying Geese วิธีหนึ่งนะคะ

          ขั้นตอนการทำ Flying Geese โดยภาพรวม คือ เราจะเริ่มจากการตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อนนะคะ จากนั้นจะนำสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ได้มาแบ่งออกเป็นสามเหลี่ยมเล็กตามจำนวนที่เราต้องการ โดยอาศัยสูตรคำนวณเป็นตัวช่วย แล้วจึงนำสามเหลี่ยมที่ได้นี้มาต่อกัน ซึ่งสามเหลี่ยมที่ตัดนี้จะมี 2 ขนาด ดังนี้ค่ะ

                    1. สามเหลี่ยมใหญ่ (กึ่งกลาง) เรียกว่า "Geese"

                    2. สามเหลี่ยมเล็ก (ซ้าย-ขวา) เรียกว่า "Sky"

 

สูตรคำนวณสำหรับตัดผ้าทำลาย Flying Geese

          เริ่มแรกให้เรากำหนดขนาดที่ต้องการทำสำเร็จ หรือ Finished Size (F.S.) ออกมาก่อนนะคะ ว่าเราต้องการขนาดเท่าใด ต่อไปขอเรียกโดยย่อว่า F.S. นะคะ

          F.S. ให้ยึดจากด้านฐานของสามเหลี่ยมที่ยาวที่สุด ดูรูปด้านบนประกอบนะคะ

          ตามตัวอย่างในแพทเทิร์นฐานของสามเหลี่ยมด้านที่ยาวที่สุดประมาณ 1.5 cm นะคะ

          หลังจากนั้นให้เรานำขนาดที่ได้นี้ไปตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

          1. ชิ้นส่วน Geese : ใช้วิธีตัดผ้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ชิ้น แล้วแบ่งเป็นสามเหลี่ยม 4 ชิ้น มีสูตรคำนวณเพื่อหาขนาดด้านสี่เหลี่ยมจัตุรัสดังนี้

Geese F.S. + 1 1/4 นิ้ว  หรือ

Geese F.S. + 3.2 cm 

              จากนั้นให้นำขนาดด้านสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้ไปตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสนะคะ เช่น ตามตัวอย่างเราต้องการให้ได้ Geese F.S. = 1.5 cm แทนค่าในสูตรจะได้ขนาดด้าน คือ 4.7 cm

1.5 cm + 3.2 cm = 4.7 cm

              ดังนั้น สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เราจะต้องตัด คือ

4.7 cm x 4.7 cm

          2. ชิ้นส่วน Sky : ใช้วิธีตัดผ้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ชิ้น แล้วแบ่งเป็นสามเหลี่ยม 2 ชิ้น มีสูตรคำนวณเพื่อหาขนาดด้านสี่เหลี่ยมจัตุรัสดังนี้

 

Sky F.S. + 7/8 นิ้ว  หรือ

 

Sky F.S. + 2.2 cm 

              จากนั้นให้เราตัดผ้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสในทำนองเดียวกันกับชิ้น Geese นะคะ

 

วิธีการทำกระเป๋าเบคอนกระรอกน้อย

1. วาดสี่เหลี่ยม (ขนาดตามแพทเทิร์น) บนผ้าพื้นแล้วตัด  จำนวน 2 ชิ้น

สี่เหลี่ยมทั้งสองชิ้นนี้สำหรับทำแอพพริเคชิ้นหน้า และชิ้นหลังค่ะ

หากท่านใดที่มีไม้บรรทัดใสจะใช้ไม้บรรทัดใสช่วยในการวาดสี่เหลี่ยมก็ได้นะคะ สามารถมองเห็นลายผ้าและเลือกตัดบริเวณลายที่เราต้องการได้ง่ายค่ะ เช่น ในที่นี้ทางร้านต้องการให้ลายดอกไม้อ่อนอยู่บริเวณส่วนริมขวาจึงเลือกวาดรูปสี่เหลี่ยมตามรูปนะคะ 

เมื่อวาดสี่เหลี่ยมขนาดตามแพทเทิร์นเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราตัดผ้าโดยเผื่อตะเข็บ 1.5 - 2 cm นะคะ 

ข้อสังเกต: กรณีตัดผ้าโดยทั่วไปจะเผื่อตะเข็บ 0.7 cm แต่กรณีนี้มีขั้นตอนการต่อผ้าหลายส่วนและการควิลท์ด้วย ผ้าอาจจะหดเข้ามาได้บ้างค่ะ จึงควรเผื่อผ้าไว้มากหน่อยนะคะ

 

2. ทำแอพพริเคชิ้นหน้า

วิธีการทำแอพพริเคสามารถทำได้หลากหลายวิธีนะคะ ท่านใดที่ชอบวิธีการทำแบบใดสามารถเลือกทำตามแบบที่ชอบได้เลยนะคะ เช่น

           a. แอพพริเคแบบทั่วไป : ลอกแพทเทิร์นลงบนแผ่นพลาสติก นำมาวาดแบบบนผ้าแล้วตัดผ้าเพื่อนำมาสอย

               สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคแบบทั่วไปเพิ่มเติมได้ใน "วิธีเย็บกระเป๋าปิ๊กแป๊ก Sheepy Farm + วิธีแอพพลิเคโดยละเอียด" นะคะ Click

          b. แอพพริเคโดยใช้วิราเน่ หรือผ้ากาว(บาง)

        สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคโดยใช้วิราเน่ หรือผ้ากาว(บาง) เพิ่มเติมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click

          c. แอพพริเคโดยใช้กระดาษ Freezer Paper 

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคโดยใช้กระดาษ Freezer Paper ได้ใน "วิธีทำรองเท้าใส่ในอาคาร Flowers & Bee Slippers" นะคะ Click

 

3. ทำแอพพริเคชิ้นหลัง

 

4. วาดสี่เหลี่ยม (ขนาดตามแพทเทิร์น) แล้วตัด เผื่อตะเข็บ 0.7 cm จำนวน 1 ชิ้น

ชิ้นนี้จะเป็นฐานของกระเป๋านะคะ

 

5. จะได้ชิ้นส่วนสำหรับประกอบเข้าด้วยกัน 3 ชิ้น ดังรูป

 

6. เย็บด้วยมือหรือจักรเพื่อประกอบชิ้นส่วนทั้ง 3 ชิ้นเข้าด้วยกัน

วิธีการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click

 

7. ตัดผ้าชิ้น Geese และ Sky ขนาดตามสูตรโดยใช้ Rotary Cutter 

วิธีการใช้งาน Rotary Cutter มีข้อดีคือสามารถตัดผ้าได้ครั้งละหลายชิ้น มีความคลาดเคลื่อนน้อย และลดระยะเวลาการขีดเส้นเพื่อตัดลงนะคะ โดยจะใช้ประกอบกัน 3 ส่วน คือ 1.Rotary 2.ไม้บรรทัด และ 3. แผ่นรองตัด 

หรือ ท่านใดที่ไม่มี Rotary Cutter จะใช้ไม้บรรทัดและปากกาเขียนผ้าวาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสแทนก็ได้นะคะ แต่เวลาตัดผ้าควรตัดบริเวณขอบด้านในไม่ให้เห็นรอยปากกานะคะ เนื่องจากขนาดของผ้าที่ไม่เท่ากันแม้เพียงเล็กน้อยก็มีผลเวลานำชิ้นส่วนมาต่อกันนะคะ จะทำให้ลายออกมาไม่ตรงกันได้ค่ะ แต่ไม่ต้องกังวลเท่าใดนะคะ เพราะชิ้นงานของเรามีขนาดเล็กมาก ค่อนข้างจะต่อได้ลำบากพอสมควรค่ะ

ในที่นี้ชิ้นงานของเรามีขนาดเล็ก ท่านใดที่เกรงว่าจะเย็บลำบากเนื่องจากตะเข็บจะหนาและซ้อนกันหลายชั้นจะลองนำเทคนิคการต่อผ้าลาย Flying Geese นี้ไปลองตกแต่งทำชิ้นงานใหญ่ขึ้น เช่น กระเป๋าใบใหญ่ หรือผ้านวมแทนก็ได้นะคะ

 

8. เมื่อตัดผ้าเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้ดังรูปนะคะ

 

9. หันด้านผิดขึ้น ขีดเส้นทแยงมุมที่ชิ้น Geese ตามรูป หรือท่านใดจะใช้ Rotary Cutter ตัดโดยไม่ต้องขีดเส้นก็ได้นะคะ

 

10. ตัดแบ่งชิ้น Geese เป็นสามเหลี่ยม 4 ชิ้น โดยใช้กรรไกร หรือ Rotary Cutter

 

11. นำสี่เหลี่ยมจัตุรัสชิ้น Sky มาแบ่งเป็นสามเหลี่ยม 2 ชิ้น ตามแนวเส้นทแยงมุม วิธีการตัดทำในทำนองเดียวกันกับชิ้น Geese นะคะ

 

 

12. ต่อด้านยาวของ Sky เข้ากับด้านสั้นของ Geese โดยเย็บตะเข็บ 1/4 นิ้ว ด้วยมือหรือจักร ผ้าด้านถูกประกบกัน ให้มุมของ Sky พอดีกับมุมของ Geese นะคะ

 

13. ทำในทำนองเดียวกันตามข้อ 11 กับด้านที่เหลืออีกด้าน จะได้ Flying Geese 1 ชิ้นตามรูปนะคะ

เย็บ Flying Geese ให้ได้ทั้งหมด 28 ชิ้นนะคะ

 

14. นำชิ้นส่วนมาเรียงต่อกันให้ได้ 2 แถว แถวละ 14 ชิ้น จับมุมและด้านข้างให้พอดีกัน สังเกตระยะให้พอดีกับในแพทเทิร์นนะคะ

 

15. จะได้ชิ้นส่วนใหญ่ 3 ชิ้นสำหรับประกอบตัวกระเป๋า

 

16. กลัดด้วยเข็มหมุดก่อนนำไปเย็บด้วยมือ หรือจักร

 

17. เย็บ Flying Geese 1 ฝั่งเสร็จเรียบร้อย อีกฝั่งก็ทำในทำนองเดียวกันนะคะ

 

18. ปักตาด้วยวิธีการปักแบบปมฝรั่งเศส (French Knot) และปักรอยหางด้วยวิธีการปักแบบ Backstitch และเย็บกระดุมเป็นจมูกกระรอก

      วิธีการปักปมฝรั่งเศส (French Knot) สามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ใน "วิธีทำรองเท้าใส่ในอาคาร Flowers & Bee Slippers" ขั้นตอนที่ 44 นะคะ Click

      วิธีการปักแบบ Backstitch สามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ใน "วิธีทำรองเท้าใส่ในอาคาร Flowers & Bee Slippers" ขั้นตอนที่ 43 นะคะ Click

 

19. วางผ้าชิ้นหน้าซ้อนบนใยแล้วควิลท์รอบกระรอก และเอคอร์น

      วิธีการควิลท์เพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click

 

20. วงซับใน นำไปเย็บ กลับตะเข็บออกมาแล้วสอยให้เรียบร้อย

      วิธีการเย็บและกลับตะเข็บชิ้นงานออกมาโดยละเอียดสามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click

 

21. เย็บกลับตะเข็บชิ้นข้างทั้งสองข้าง

 

22. วัดมุมเข้ามา 1 cm

 

23. วัดมุมลงมาให้ครบทั้ง 4 ด้าน สังเกตด้านที่วัดตามรูปนะคะ

 

24. พับก้นกระเป๋าและขีดหาจุดกึ่งกลางทั้งซ้ายและขวา

 

25. พับก้นพนังในทำนองเดียวกันเพื่อหาตำแหน่งในการเนาตรึงชิ้นงานไว้

 

26. เนาตรึงพนังเข้ากับชิ้นตัวกระเป๋า โดยเริ่มจากกึ่งกลางก้นกระเป๋า ตามด้วยมุมบนซ้าย-ขวา และกึ่งกลางด้านข้างซ้าย-ขวา ตามลำดับ

 

27. สอยประกอบด้านข้างกระเป๋าให้เรียบร้อยทั้งสองข้าง

วิธีการสอยประกอบกระเป๋าเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" ขั้นตอนที่ 51 นะคะ Click

 

28. สอยประกอบด้านในกระเป๋าในทำนองเดียวกันทั้งสองข้าง

 

29. หลังจากสอยประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อกลับตะเข็บออกมาจะได้ดังรูปนะคะ

 

30. นำปากกระเป๋ามาเนาตรึงไว้ด้านบนตามรูปนะคะ ใช้เหล็กแหลมดันขอบเข้าไปในปากกระเป๋า

วิธีการเย็บปากกระเป๋าเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ใน "วิธีการทำกระเป๋าราตรี Spring Rose" ขั้นตอนที่ 28 นะคะ Click

 

31. ด้านหน้ากระเป๋าเมื่อเย็บเสร็จเรียบร้อย

 

32. ด้านหลังกระเป๋า

 

33. ด้านในกระเป๋า มีความจุและกว้าง เปิดหยิบสิ่งของด้านในสะดวกนะคะ

 

 

 

เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามผลงานของ Vanida Quilts นะคะ ^^