วิธีทำสมุดบันทึกลูกหมีลูกโป่ง Balloon Bear



   วิธีทำสมุดบันทึกลูกหมีลูกโป่ง Balloon Bear Notebook   

















































"แทนคำขอบคุณ"...

เนื่องจากทางร้านได้รับการอุดหนุนจากลูกค้าทุกท่านเป็นอย่างดีเสมอมา จึงเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญที่สุด เป็นกำลังใจและแรงผลักดันให้ทางร้านพยายามจัดทำผลงานควิลท์พร้อมวิธีการทำประกอบเผื่อเป็นไอเดียเพิ่มเติมให้ทุกท่านกันนะคะ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนอุดหนุนสินค้าและคอยติดตามผลงานมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ 

 

สมุดบันทึก "ลูกหมีลูกโป่ง" (Balloon Bear Notebook)

ผลงานชิ้นนี้เป็นสมุดบันทึกงานควิลท์นะคะ สำหรับวางแผนตารางงาน, การนัดหมาย, จดบันทึกรายการทางการเงิน หรือบันทึกสิ่งต่างๆได้หลากหลาย 

ด้านในของสมุดบันทึกเล่มนี้ออกแบบให้มีช่องใส่ของได้อเนกประสงค์ สามารถปรับเปลี่ยนกระดาษด้านใน (Refill) ,กระดาษคั่น หรือซองพลาสติกได้ตามต้องการ ดังนี้

- อุปกรณ์สมุดโน๊ต Click

- ซองพลาสติกสมุดโน๊ต พร้อมซิปรูดเปิด - ปิด

- กระดาษคั่นสมุดโน๊ต ชุด 5 สี

- Refill กระดาษสมุดโน๊ต Planner รายเดือน

- Refill กระดาษสมุดโน๊ต To Do รายวัน

- Refill กระดาษสมุดโน๊ต บัญชีการเงินรายวัน

- Refill กระดาษสมุดโน๊ต เส้นประแนวนอน

- Refill กระดาษสมุดโน๊ต ตารางจตุรัส

- Refill กระดาษสมุดโน๊ต จุดประจตุรัส

- Refill กระดาษสมุดโน๊ต Favorites

- Refill กระดาษสมุดโน๊ต กระดาษเปล่า

 

ด้านหน้าของสมุดบันทึกออกแบบให้เป็นลวดลายแอพพริเค (applique) รูปลูกหมีสีขาวกำลังถือลูกโป่งในมือซ้าย พื้นสมุดบันทึกเน้นโทนสีชมพู และตกแต่งด้วยเทคนิคการต่อผ้าลายกังหัน (Pinwheel) ด้วยสีฟ้าให้ตัดกันกับสีชมพูอย่างกลมกลืน พร้อมที่คาดสมุดเป็นกระดุมรูปโบว์สำหรับเปิด-ปิดเพื่อให้ดูหวานมากยิ่งขึ้น

 

ด้านในของสมุดบันทึกแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้นะคะ

1. ด้ายซ้ายของสมุดบันทึก เป็นช่องตาข่ายสำหรับใส่สิ่งของที่มีขนาดใหญ่ เช่น โทรศัพท์มือถือ, กระดาษทิชชู หรือสมุดธนาคาร เป็นต้น 

เพื่อให้สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์มากขึ้น ทางร้านจึงออกแบบทำที่เสียบปากกามาเย็บติดไว้กับตาข่ายด้วยนะคะ 

2. ด้ายขวาของสมุดบันทึก เป็นช่องซิปสำหรับใส่สิ่งของที่มีขนาดเล็ก หรือสิ่งของสำคัญที่เกรงว่าอาจจะตกหล่นได้ง่าย เช่น กุญแจรถ, บัตรเครดิต, เงินสด เป็นต้น

3. ส่วนกลางของสมุดบันทึก ตอกด้วยห่วง Binder สำหรับใส่กระดาษ Refill , กระดาษแข็งสี (สำหรับคั่นแบ่งสัดส่วนให้เป็นระเบียบ) หรือใส่เป็นซองพลาสติกกันน้ำ สำหรับสิ่งของที่เกรงว่าอาจจะเปียกเวลาฝนตกก็ได้นะคะ เช่น iPod หรือโทรศัพท์มือถือ

 

เพื่อให้ดูน่ารักมากยิ่งขึ้นทางร้านจึงถักเชือกกำมะหยี่ 3 สีเข้าด้วยกันเป็นเปียทำเป็นที่คั่นหนังสือโดยให้มีความยาวเลยขอบสมุดด้านล่างออกมา เมื่อพับสมุดบันทึกและถือพกพาไปด้วยแล้วก็จะเห็นหัวซิป หรือจี้ที่เรานำมาตกแต่งห้อยออกมาด้วยค่ะ

 

เนื้อหาประกอบด้วย

1. วิธีการต่อผ้าลายกังหัน (Pinwheel)

2. วิธีการเย็บสมุดบันทึก

3. วิะีการติดกระดุม Snap

4. วิธีการตอกห่วง Binder 

 

อุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นทั่วไป

1. เข็ม Click

          - เข็มเย็บทั่วไป (Sharps Needles) No.10 : เย็บกระดุมพลาสติกหุ้มผ้า, สอยกระดุมพลาสติกหุ้มผ้า (ในขั้นตอนการตกแต่ง)

          - เข็มควิลท์ (Quilting Needles) No.9 : ควิลท์ตามแนวเส้นควิลท์ และรอบตัวลูกหมี

          - เข็มแอพพริเค (Applique Needles) No.12 : แอพพริเคลูกหมี

          - เข็มปัก (Embroidery Needles) No.3-9 : ปักก้านลูกโป่ง

2. ที่สนเข็ม (หากมี) Click

3. เข็มหมุด Click

    3.1 เข็มหมุดหัวแบน : กลัดชิ้นงานทั่วไป, กลัดช่องซิป, กลัดช่องตาข่าย 

             ข้อดี คือ หัวเข็มมีลักษณะแบบจึงไม่เคลื่อนที่ง่าย และเนื่องจากหัวเข็มมีลักษณะแบนเรียบติดกับชิ้นงานจึงสะดวกในการเย็บชิ้นส่วนต่างๆ

  3.2 เข็มหมุดหัวแก้ว : กลัดเวลาต่อผ้าลายกังหัน (Pinwheel) ด้วยจักร เนื่องจากเข็มมีความบางมากทำให้สามารถเย็บด้วยจักรทับได้โดยไม่ต้องคอยดึงเข็มหมุดออกในขณะเย็บ อย่างไรก็ตามควรใช้ความระมัดระวังในการเย็บนิดนึงนะคะ เพราะถ้าจังหวะที่เข็มจักรและเข็มหมุดตรงกันพอดี เข็มหมุดก็อาจจะงอได้บ้างค่ะ Click

            ข้อสังเกต: การต่อผ้าลายกังหัน (Pinwheel) จัดเป็นการทำ Patchwork อย่างหนึ่ง ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง คือ ความแม่นยำของชิ้นงาน หากต่อผ้าได้ละเอียดประณีตชิ้นงานจะออกมาเรียบร้อย เช่น มุมจะออกมาตรงกัน ดังนั้นอาจจะต้องใส่ใจในอุปกรณ์ที่เราเลือกใช้นิดนึงนะคะ เช่น เข็มหมุดนี้หากเลือกใช้เข็มหมุดที่ตัวเข็มมีลักษณะบางเวลาเย็บจะเกิดความคลาดเคลื่อนน้อย ถ้าชิ้นส่วน Block ในแต่ละชิ้นคลาดเคลื่อนน้อย พอนำมาต่อรวมกันเป็นชิ้นใหญ่ ชิ้นงานก็จะยิ่งออกมาดูประณีตได้มากยิ่งขึ้นนะคะ

4. กรรไกรตัดด้าย Click

5. กรรไกรตัดผ้า/ กระดาษ/ พลาสติก Click

6. เหล็กแหลม : ดันมุมตะเข็บ (กลับตะเข็บช่องเสียบปากกา) Click

7. ไม้บรรทัด : ขีดเส้น, วัดตำแหน่งหาจุดกึ่งกลาง, หรือใช้วาดสี่เหลี่ยม (กรณีตัดผ้าโดยไม่ใช้ Rotary Cutter) Click

8. ปากกาเขียนผ้า (แบบลบออกได้ด้วยน้ำ, แบบระเหย หรือลบด้วยความร้อน) และปากกาเขียนเทมเพลต (แผ่นพลาสติกวาดแพทเทิร์น) Click

    ข้อสังเกต: ท่านใดที่เกรงว่าปากกาเขียนผ้าจะลบออกได้ยากอาจจะทดลองใช้ปากกาบนเศษผ้าเหลือใช้ก่อนก็ได้นะคะ ข้อดีของการใช้ปากกาคือหัวปากกาส่วนใหญ่จะไม่ข่วนผ้าเท่ากับการใช้ดินสอ แต่ข้อเสียคืออาจจะลบออกได้ยากกว่าดินสอ จึงแนะนำให้ทดสอบปากกาบนเศษผ้าก่อนนำมาใช้กับชิ้นงานจริงนะคะ

9. ดินสอเขียนผ้าสีขาว : สำหรับเขียนผ้าสีเข้ม Click

10. ปลอกนิ้ว : ดันเข็ม, ควิลท์, กันลื่นขณะดึงเข็ม Click

11. ปลอกข้อนิ้ว : สวมข้อนิ้วกันเส้นด้ายบาดนิ้วเวลาดึงด้ายแรง Click

12. ด้ายควิลท์ Click

      ตามตัวอย่างทางร้านใช้ด้าย YLI (USA) ด้ายควิลท์มือ 400 หลา No.2 สีน้ำตาลอ่อน Ecru ค่ะ

13. ด้ายแอพพริเค : สำหรับสอยชิ้นส่วนแอพพริเค Click

      ตามตัวอย่างทางร้านใช้ด้าย YLI (USA) Applique 250 หลา No.22 สีน้ำตาลอมเทา Taupe ค่ะ 

14. ด้ายล่องหน : สอยซ่อนเส้นด้ายเมื่อเย็บกระดุม (ชิ้นงานจะออกมาเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น) Click

15. ด้ายเย็บจักร Click หรือด้ายอเนกประสงค์ Click : สำหรับเย็บประกอบชิ้นงานด้วยมือ หรือจักร, เย็บกระดุมตกแต่ง หรือสอยกุ๊น

16. ซองกุ๊น ขนาด 18 mm Click

17. ที่วาดตะเข็บ ขนาด 7 mm Click

18. เตารีดอเนกประสงค์ Click : รีดล้มตะเข็บ โดยเฉพาะเวลาต่อผ้าลายกังหัน (Pinwheel), รีดผ้ากาว, รีดผ้าเคมีกาว

ข้อสังเกต : เวลาต่อผ้าลายกังหัน หรือการทำ Patchwork โดยส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้ใช้ที่กรีดผ้านะคะ เนื่องจากตะเข็บเวลาเย็บออกมาแล้วจะค่อนข้างหนา จึงควรใช้เตารีดรีดให้เรียบชิ้นงานจึงจะออกมาดูเรียบร้อยมากยิ่งขึ้นนะคะ ท่านใดที่ไม่มีเตารีดอเนกประสงค์จะใช้เตารีดรีดผ้าแทนก็ได้นะคะ เพียงแต่เตารีดอเนกประสงค์จะมีข้อดีคือช่วยประหยัดไฟและอุณหภูมิไม่สูงมาก เพราะเวลาต่อผ้าต้องใช้ระยะเวลาในการต่ออยู่พอสมควร ต้องรีดไปด้วยและต่อผ้าไปด้วย จึงอาจจะต้องติดเตารีดไว้เป็นเวลานาน การใช้เตารีดที่มีขนาดพอเหมาะจะช่วยประหยัดไฟและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อติดเตารีดไว้ร้อนๆ ได้ค่ะ

19. พลาสติกวาดแพทเทิร์น Click

 

อุปกรณ์เสริม [ กรณีตัดผ้าโดยใช้ Rotary Cutter ] Click

1. แผ่นรองตัด Click

2. Rotary Cutter Click

3. ไม้บรรทัดแบบหนา(สำหรับใช้กับ Rotary Cutter) Click

ข้อสังเกต: การตัดผ้าโดยใช้ Rotary Cutter ช่วยลดระยะเวลาในการตัดผ้าลงได้ เนื่องจากสามารถตัดผ้าแต่ละครั้งได้ทีละหลายชิ้นนะคะ

 

อุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นเฉพาะชิ้นงาน

1. ห่วง Binder มีวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม ดังนี้

    1.1 ห่วง Binder สมุดโน๊ต (พร้อมหมุด) Click

    1.2 แท่งตอกหมุด หรือแท่งตอก Binder สมุดโน๊ต Click

    1.3 ค้อน

2. การทำแอพพริเครูปลูกหมี สามารถแอพพริเคได้โดยใช้เทคนิค เช่น

          a. แอพพริเคแบบทั่วไป : ลอกแพทเทิร์นลงบนแผ่นพลาสติก นำมาวาดแบบบนผ้าแล้วตัดผ้าเพื่อนำมาสอย

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคแบบทั่วไปเพิ่มเติมได้ใน วิธีเย็บกระเป๋าปิ๊กแป๊ก Sheepy Farm + วิธีแอพพลิเคโดยละเอียด นะคะ Click

          b. แอพพริเคโดยใช้วิราเน่ หรือผ้ากาว(บาง)

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคโดยใช้วิราเน่ หรือผ้ากาว(บาง) เพิ่มเติมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click

              ข้อควรระวัง: ควรเลือกใช้กาวที่มีเนื้อกาวสีขาวกับผ้าสีอ่อนนะคะ หากเลือกใช้กาวที่มีเนื้อกาวสีเข้ม เวลาทาผ้าแล้วอาจจะมองเห็นรอยกาวออกมาด้านนอกได้ค่ะ

          c. แอพพริเคโดยใช้กระดาษ Freezer Paper

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคโดยใช้กระดาษ Freezer Paper ได้ใน "วิธีทำรองเท้าใส่ในอาคาร Flowers & Bee Slippers" นะคะ Click

     สำหรับผ้าที่ต้องใช้ทำชิ้นส่วนแอพพริเครูปลูกหมี มีดังนี้

          2.1 ผ้าสีชมพู : ผ้าทอ รหัส sho109-0006 No.02 ชมพูอ่อน Click

          2.2 ผ้าสีขาว : ผ้าทอ รหัส sho109-0006 No.03 สีขาว Click

          2.3 ผ้าสีแดง(จมูกลูกหมี) : ผ้าทอ รหัส hzx0001 Click

3. การต่อผ้าลายกังหัน (Pinwheel) ใช้ผ้า 2 สีดังนี้

          3.1 ผ้าสีฟ้า : ผ้าทอ รหัส sho109-0018 สี C  Click

          3.2 ผ้าสีน้ำเงิน : ผ้าทอ รหัส sho109-0027 สี E Click

4. พื้นกระเป๋า (ด้านใน, ด้านนอก) และสายคาดสมุดบันทึก : ผ้าทอสีชมพู รหัส sho109-0017 No.1 สีชมพู Click

5. ช่องตาข่าย (ด้ายซ้าย) : ผ้าตาข่าย รหัส sho109-0014 No.02 สีเบจ Click

6. ช่องซิป (ด้านขวา) และที่เสียบปากกา : ผ้าทอ รหัส sho109-0019 No.F สีชมพู   Click

7. ซิป ขนาด 6" (15 cm) สีเบจ หรือเบจเข้ม Click

   ข้อสังเกต : ตามตัวอย่างทางร้านเลือกใช้ซิปญี่ปุ่น YKK แบบที่มีหัวซิปกลม สีเบจเข้ม นะคะ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ห่วงและหัวซิปเพิ่ม หากท่านใดจะเลือกใช้ซิปแบบที่สามารถเลือกหัวซิปลายน่ารักๆมาใช้ได้เอง ก็สามารถเปลี่ยนได้ตามชอบนะคะ

8. ใย Click

ตามตัวอย่างทางร้านใช้ใยสปริง ขนาด 250 g เพื่อให้สมุดบันทึกออกมาอยู่ทรงมากขึ้น และรอยควิลท์ออกมานูนขึ้นนะคะ 

9. ผ้ากาว Click

    9.1 แบบบาง : สำหรับรีดติดกับช่องซิป 

    9.2 แบบหนา : สำหรับรีดติดกับซับใน

10. ผ้าเคมีกาว Click

      ข้อสังเกต : ผ้าเคมีกาวนี้จะใช้สำหรับรองเพื่อดามผ้าไว้ใต้ Binder และกระดุม Snap เพื่อไม่ให้ผ้าขาดง่ายเวลาใช้งานจริงนะคะ

11. กระดุม Snap มีวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม ดังนี้

      11.1 กระดุม Snap No.633 Click

      11.2 ชุดตอกกระดุม Snap No.633 Click

12. ผ้ากุ๊น : รหัส Set i ผ้ากุ๊นผ้าทอ 3.6 cm No.01 สีน้ำเงินคราม Click

13. ไหมปัก (ก้านลูกโป่ง)

14. สายคล้อง ใช้วัสดุดังนี้

     14.1 เชือกกำมะหยี่ ขนาด 3 mm (จำนวน 3 สี) Click

     14.2 ที่หนีบสายคล้อง : เลือกขนาดให้เหมาะกับขนาดของที่คั่นที่ต้องการทำนะคะ Click

     14.3 หัวซิป / จี้ (ลายตามชอบ) Click

     14.4 คีมปากแบน Click

     ข้อสังเกต : วิธีการทำที่หนีบสายคล้องสามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ในวิธีการทำ Macaron นะคะ Click

15. ลูกโป่ง ใช้วัสดุดังนี้

     15.1 พลาสติก ทรงรี ขนาด 4.5 x 5.7 cm จำนวน 1 อัน Click

     15.2 ผ้าทอ รหัส hzx0001 Click

16. วงกลมตกแต่ง ( 4 วง)

     16.1 พลาสติก ทรงกลม ขนาด 24 mm จำนวน 4 วง Click

     16.2 ผ้าทอ รหัส hzx0001 Click

17. อุ้งเท้าลูกหมี 

     17.1 พลาสติก ทรงกลม ขนาด 18 mm จำนวน 2 วง Click

     17.2 ผ้าทอ รหัส sho109-0006 No.02 ชมพูอ่อน Click

18. ลูกปัดตาตุ๊กตา (ตาลูกหมี) ขนาด 3 mm (ตาลูกหมีClick

 

วิธีการทำ (How to make)

 

1. เตรียมผ้าสำหรับต่อผ้าลายกังหัน (Pinwheel) ขนาด 1.5 นิ้ว x 1.5 นิ้ว จำนวน 2 สี สีละ 40 ชิ้น


 

2. ท่านใดที่มี Rotary Cutter สามารถตัดผ้าเป็นเส้นยาวให้มีความกว้างเส้นละ 1.5 นิ้วก่อน แล้วนำมาวางเรียงกันตามรูปเพื่อตัดแบ่งเป็นชิ้นละ 1.5 นิ้ว x 1.5 นิ้วก็ได้นะคะ

ข้อสังเกต: ท่านใดที่ไม่มี Rotary Cutter สามารถใช้ไม้บรรทัดวัดและตัดด้วยกรรไกรก็ได้นะคะ เพียงแต่การตัดผ้าโดยใช้ Rotary Cutter สามารถช่วยลดระยะเวลาในการตัดผ้าลงได้ เนื่องจากสามารถตัดผ้าแต่ละครั้งได้ทีละหลายชิ้น จึงช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลงค่ะ


 

3. ตัดผ้าแบ่งเป็นชิ้นเล็กขนาด 1.5 นิ้ว x 1.5 นิ้ว


 

4. ขีดเส้นทแยงมุมบนผ้าด้านผิดโดยใช้ปากกาเขียนผ้า

ข้อสังเกต: แนะนำให้ใช้ปากกาเขียนผ้าที่มีหัวแหลมมากที่สุด เช่น ขนาด 0.5 mm นะคะ เนื่องจากการต่อผ้าจะต้องอาศัยความแม่นยำในขณะเย็บ หากเส้นที่เราขีดหนาเวลานำไปเย็บด้วยตะเข็บ 0.7 cm ตะเข็บอาจจะออกมาใหญ่ขึ้นเพราะโดยส่วนใหญ่เราจะเย็บตะเข็บโดยอาศัยเส้นปากกาซึ่งจะรวมความหนาของเส้นปากกาเข้าไปด้วยในตัว ดังนั้นเมื่อนำมาเย็บต่อกันเข้ากับชิ้นอื่นอีกหลายๆชิ้นมุมแหลมของกังหันอาจจะคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันได้ค่ะ ชิ้นงานที่ออกมาอาจจะดูไม่ค่อยประณีตได้ การใช้ปากกาที่มีหัวแหลมเส้นเล็ก สามารถช่วยลดปัญหาข้อนี้ไปได้บ้างนะคะ แต่สำหรับท่านใดที่ไม่มีปากกาหัวแหลมอาจจะลองใช้วิธีขีดเส้นให้มีความหนาน้อยที่สุด หรือถ้าเส้นที่ขีดออกมาหนาจริงๆ จะใช้วิธีเย็บกินเส้นปากกาเข้ามาเล็กน้อยดูก็ได้นะคะ


 

5. ประกบผ้าด้านถูกเข้าหากัน (ชิ้นหนึ่งเป็นผ้าสีฟ้า อีกชิ้นหนึ่งเป็นผ้าสีน้ำเงิน) แล้วเย็บด้วยตะเข็บ 0.7 cm ซ้าย-ขวา ของเส้นทแยงมุมที่ขีดไว้ สังเกตเส้นเย็บตามรูปนะคะ


 

6. ตัดแบ่งครึ่งตามเส้นทแยงมุม


 

7. เพื่อความรวดเร็ว ท่านใดจะเย็บตามข้อ 5 ต่อกันให้เป็นหางว่าวก่อน แล้วค่อยนำมาตัดตามข้อ 6 ก็ได้นะคะ


 

8. รีดล้มตะเข็บชิ้นส่วนตามข้อ 6 ไปทางผ้าสีเข้ม จากนั้นให้นำมาวางเรียงกันเป็นรูปกังหัน (Pinwheel) นะคะ


 

9. ต่อผ้าส่วนบนและส่วนล่างเข้าด้วยกันตามรูป ***หยุดฝีเข็มที่มุมแหลมของสามเหลี่ยม (โดยย้ำฝีเข็มหรือผูกตะเข็บ)*** ไม่เช่นนั้นจะหมุนวนตะเข็บตามข้อ 11 ไม่ได้ค่ะ


 

10. ต่อชิ้นส่วนตามแนวนอนเข้าด้วยกันอีกครั้ง *** หยุดฝีเข็มตรงตะเข็บกึ่งกลาง (โดยย้ำฝีเข็มหรือผูกตะเข็บเช่นเดิม)*** ไม่เช่นนั้นจะหมุนวนตะเข็บตามข้อ 11 ไม่ได้ค่ะ


 

11. ล้มตะเข็บให้หมุนวนเป็นวงกลม เพื่อไม่ให้ตะเข็บหนาเกินไป 

ข้อสังเกต: ท่านใดที่สงสัยว่าจะล้มตะเข็บอย่างไร และยากหรือไม่ คำตอบคือไม่ยากเลยนะคะ โดยวิธีการล้มตะเข็บให้เรากดลงไปกึ่งกลางของผ้าก่อน จากนั้นตะเข็บจะแบออกและหมุนวนได้เองค่ะ


 

12. ต่อกังหัน (Pinwheel) จำนวน 10 block เข้าด้วยกันเป็นเส้นยาว


 

13. ทำเช่นเดียวกันกับขั้นตอนที่ 12 ให้ได้ 2 เส้น


 

14. ตัดผ้าพื้นกระเป๋าชิ้นกลางแล้ว เพื่อนำมาต่อกันกับชิ้นกังหัน (Pinwheel)


 

15. ต่อชิ้นกังหัน (Pinwheel) ทั้ง 2 เส้นเข้ากับผ้าพื้นกระเป๋าชิ้นกลาง


 

16. ต่อผ้าพื้นกระเป๋าที่เหลือเข้ากับชิ้นกังหัน (Pinwheel) ตามรูป


 

17. แอพพริเค (applique) ลูกหมี

การทำแอพพริเครูปลูกหมี สามารถแอพพริเคได้โดยใช้เทคนิค เช่น

          a. แอพพริเคแบบทั่วไป : ลอกแพทเทิร์นลงบนแผ่นพลาสติก นำมาวาดแบบบนผ้าแล้วตัดผ้าเพื่อนำมาสอย

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคแบบทั่วไปเพิ่มเติมได้ใน "วิธีเย็บกระเป๋าปิ๊กแป๊ก Sheepy Farm + วิธีแอพพลิเคโดยละเอียด" นะคะ Click

          b. แอพพริเคโดยใช้วิราเน่ หรือผ้ากาว(บาง)

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคโดยใช้วิราเน่ หรือผ้ากาว(บาง) เพิ่มเติมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click

              ข้อควรระวัง: ควรเลือกใช้กาวที่มีเนื้อกาวสีขาวกับผ้าสีอ่อนนะคะ หากเลือกใช้กาวที่มีเนื้อกาวสีเข้ม เวลาทาผ้าแล้วอาจจะมองเห็นรอยกาวออกมาด้านนอกได้ค่ะ

          c. แอพพริเคโดยใช้กระดาษ Freezer Paper

              สามารถเข้าชมวิธีการทำแอพพริเคโดยใช้กระดาษ Freezer Paper ได้ใน "วิธีทำรองเท้าใส่ในอาคาร Flowers & Bee Slippers" นะคะ Click


 

18. วางผ้าชิ้นนอกตามข้อ 17 บนใย และควิลท์(quilt) ให้เรียบร้อย

ข้อสังเกต: วิธีการควิลท์เพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click


 

19. ตัดผ้ากาว (แบบหนา) เท่าแพทเทิร์น และรีดติดกับซับใน โดยให้ด้านกาวของผ้ากาวถูกรีดลงบนผ้าซับในด้านผิด


 

20. ทำสายคาดสมุดบันทึกโดยตัดผ้าประกบกัน สอดใยไว้ตรงกลางและควิลท์ให้เรียบร้อย

ข้อสังเกต: วิธีการควิลท์เพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ใน "วิธีการทำเคสกระเป๋าโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case" นะคะ Click


21. วาดตะเข็บ 0.7 cm โดยใช้ที่วาดตะเข็บ แล้วตัดผ้าตามเส้นที่วาด


22. รีดผ้ากุ๊นโดยใช้ซองกุ๊น แล้วนำมาเย็บด้วยตะเข็บ 0.7 cm ให้ขอบผ้ากุ๊นเสมอกันกับขอบผ้าชิ้นนอก ช่วงโค้งให้ผ่อนผ้ากุ๊นเล็กน้อยนะคะ เพื่อไม่ให้ผ้ารั้งในตอนสอยกุ๊นค่ะ

ข้อสังเกต : วิธีการทำผ้ากุ๊นเพิ่มเติมโดยใช้ซองกุ๊น สามารถเข้าชมได้ในเกร็ดความรู้หัวข้อ "ขั้นตอนการทำผ้ากุ๊น" นะคะ Click


23. พับผ้ากุ๊นไปด้านหลัง และสอยกุ๊นให้เรียบร้อย


24. ตัดผ้าสำหรับเสริมซิป ขนาด 5 x 2.5 cm จำนวน 2 ชิ้น


25. เย็บผ้าติดกับท้ายซิป


26. เนาบริเวณหัวซิปไว้ด้วยกันก่อนตามรูป (ด้ายเนาสีบานเย็น) เพื่อความสะดวกอาจจะรูดซิปออกด้วยก็ได้นะคะ 


27. เย็บผ้าอีกชิ้นติดกับหัวซิป


28. รีดผ้ากาว (แบบบาง) บนผ้าสำหรับทำช่องซิป โดยให้ด้านกาวของผ้ากาวถูกรีดลงบนผ้าสำหรับทำช่องซิปด้านผิด


29. พับซิปเพื่อหาจุดกึ่งกลางแล้วขีดตำแหน่งกึ่งกลางไว้ ขีดเส้นกึ่งกลางผ้าสำหรับทำช่องซิปไว้เช่นเดียวกัน

ท่านใดที่มีไม้บรรทัดจะใช้ไม้บรรทัดช่วยวัดด้วยก็ได้นะคะ


30. กลัดซิปกับผ้าตามแนวเส้นซิปเส้นแรก

สังเกตเส้นซิปเบอร์ 3 จะมี 2 เส้นนะคะ ให้กลัดตามแนวเส้นที่ชิดฟันซิปมากที่สุดค่ะ โดยให้ด้านถูกหันเข้าหากัน


31. เนาซิปติดกับผ้า ให้เส้นเนาอยู่เหนือแนวที่กลัดด้วยเข็มหมุดไว้เล็กน้อย เมื่อเนาเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ดึงเข็มหมุดออก


32. พับชายผ้าที่เหลือตลบขึ้นมา และกลัดด้วยเข็มหมุดอีกครั้ง โดยกลัดให้เส้นเย็บตรงตามแพทเทิร์น สังเกตเส้นที่กลัดด้วยเข็มหมุดตามรูปนะคะ


33. เย็บตามแนวที่กลัดไว้ และตัดริมผ้าส่วนที่เกินออก ให้เหลือตะเข็บประมาณ 0.7 cm


34. ดึงซิปออกทางด้านข้างเพื่อกลับตะเข็บออกมา กลับตะเข็บออกมาแล้วจะได้ดังรูปนะคะ 


35. วาดแพทเทิร์นช่องตาข่าย 

ข้อสังเกต: ท่านใดจะใช้วิธีวาดแพทเทิร์นบนแผ่นพลาสติกรอบหนึ่งก่อน แล้วค่อยนำแผ่นพลาสติกมาวาดบนผ้าตาข่าย

หรือ จะใช้วิธีวาดโดยใช้ไม้บรรทัดวัด ก็ตามแต่สะดวกนะคะ


36. วาดตะเข็บ 0.7 cm ตามแนวยาวด้านหนึ่ง แล้วตัดตามแนวที่วาดตะเข็บไว้ให้เลือกตะเข็บเพียง 0.7 cm


37. รีดผ้ากุ๊นโดยใช้ซองกุ๊น เพื่อเตรียมนำมาเย็บกุ๊นติดกับผ้าตาข่าย

ข้อสังเกต : วิธีการทำผ้ากุ๊นเพิ่มเติมโดยใช้ซองกุ๊น สามารถเข้าชมได้ในเกร็ดความรู้หัวข้อ "ขั้นตอนการทำผ้ากุ๊น" นะคะ Click


38. เย็บผ้ากุ๊นติดกับตาข่าย ตะเข็บ 0.7 cm


39. พับผ้ากุ๊นตลบกลับไปอีกด้าน สอยให้เรียบร้อย


40. นำช่องซิป และช่องตาข่ายมาวางบนผ้าซับในด้านถูก จากนั้นให้กลัดด้วยเข็มหมุด


41. เนาช่องซิปติดกับผ้าซับในด้วยมือหรือจักร ให้เส้นเนาเหนือจากเส้นแพทเทิร์นประมาณไม่เกิน 1 cm นะคะ


42. เนาช่องซิปอีกฝั่งด้วยมือหรือจักรเช่นเดียวกัน


43. เนาเสร็จเรียบร้อยจะได้ดังรูปนะคะ เนาด้วยวิธีเดียวกันนี้กับช่องตาข่ายด้วยนะคะ

ข้อสังเกต: วิธีการเนาเช่นนี้จะช่วยให้ไม่ต้องเลาะได้เนาออกค่ะ เพราะส่วนที่เนาไว้จะถูกตัดออกไปในตอนเราตัดริมผ้าออกนะคะ


44. สอยก้นช่องซิปให้เรียบร้อย


45. ตัดผ้าเคมีกาวขนาดประมาณ 2.5 x 17 cm จำนวน 2 ชิ้น 

ข้อสังเกต: ทางร้านต้องการนำมาซ้อนกันให้มีความหนาสำหรับนำมาเย็บดามห่วง Binder ไว้ไม่ให้ผ้าขาดง่ายเวลาใช้งานจริง จึงให้ตัดผ้าเคมีกาวและนำมาซ้อนกันจำนวน 2 ชิ้นนะคะ


46. วางผ้าเคมีกาวซ้อนกันให้ด้านที่ไม่มีกาวหันขึ้นบนทั้ง 2 ชิ้น กล่าวคือ ซ้อนไปทางเดียวกันค่ะ จากนั้นให้เย็บติดกันโดยรอบด้วยมือหรือจักร

ข้อสังเกต: เส้นเย็บเย็บด้วยด้ายสีดำเพื่อให้ถ่ายรูปออกมาแล้วเห็นชัดนะคะ


47. รีดผ้าเคมีกาวด้านที่มีกาวติดกับกึ่งกลางของซับในด้านผิด (ด้านบนของผ้ากาวจะไม่มีกาวทำให้ไม่เลอะติดเตารีดนะคะ)


48. นำ Binder มาวางแล้วทำเครื่องหมายไว้ 2 จุด สำหรับเจาะ Binder บนผ้าซับในด้านถูก


49. วางฐานรองตอก

ข้อสังเกต: ในที่นี้ทางร้านใช้ฐานรองตอกในชุดตอกกระดุม Snap No.633 นะคะ สำหรับท่านใดที่ไม่มีฐานรองตอกโดยเฉพาะจะใช้เป็นเขียงไม้ทั่วไปรองแทนก็ได้นะคะ


50. ใช้แท่งตอกเจาะรูสำหรับตอก Binder จากนั้นให้พักไว้ก่อน

ข้อสังเกต: ในที่นี้ทางร้านใช้แท่งตอกเจาะรูที่มีในชุดตอกกระดุม Snap No.633 นะคะ สำหรับท่านใดที่ไม่มีแท่งตอกโดยเฉพาะจะใช้ตะปู หรือน๊อตที่มีความแหลมมาเจาะแทนดูก็ได้นะคะ


51. ตัดผ้าสำหรับทำที่เสียบปากกา ขนาด 5.5 x 10 cm


52. พับครึ่งผ้าตามข้อ 51 (ให้เหลือประมาณ 5.5 x 5 cm ค่ะ) จากนั้นให้เย็บซ้าย-ขวาด้วยมือหรือจักร ตะเข็บ 0.7 cm นะคะ และขลิบมุมซ้าย-ขวา

ข้อสังเกต : การขลิบมุมออกทั้งซ้ายและขวาจะทำให้ผ้าไม่ซ้อนกันมากบริเวณมุม เมื่อกลับตะเข็บออกมามุมจะแหลมขึ้นค่ะ


53. กลับตะเข็บ

ข้อสังเกต : ท่านใดที่มีเหล็กแหลมดันมุมตะเข็บจะใช้เหล็กแหลมช่วยดันด้วยก็ได้นะคะ หรือท่านใดจะใช้ปลายเข็มหมุดช่วยสกิดเบาๆ บริเวณมุมให้มุมแหลมขึ้นก็ได้เช่นกันนะคะ


54. เย็บช่องเสียบปากกาเข้ากับผ้าซับใน หรือท่านใดจะใช้วิธีสอยช่องเสียบปากกากับตาข่าย (ไม่สอยถึงผ้าซับใน) เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยช่องตาข่ายมากขึ้นก็ได้นะคะ


55. หากใช้ด้ายล่องหนในการเย็บจะช่วยซ่อนเส้นด้ายไม่ให้เห็นสีของเส้นด้าย ชิ้นงานจะออกมาเรียบร้อยมากขึ้นค่ะ

ข้อสังเกต: ตามตัวอย่างทางร้านใช้ด้ายล่องหนของ YLI ในการเย็บนะคะ สังเกตเส้นด้ายจะมีความละเอียดมากค่ะ Click 

ด้าย YLI นี้ทางร้านนำเข้าจากอเมริกา หลายท่านที่ทดลองนำไปใช้แล้วยอมรับนะคะว่าทำให้ชิ้นงานออกมาเรียบร้อยขึ้น เพราะบางครั้งถึงแม้จะเย็บไม่ประณีตแต่ก็มองเส้นด้ายไม่เห็นงานจึงออกมาเรียบร้อยค่ะ

แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งของด้ายล่องหนของ YLI ก็คือขณะเย็บอาจจะมองเห็นค่อนข้างยากนะคะ เนื่องจากด้ายจะล่องหนจริงๆค่ะ สำหรับท่านที่มีปัญหามองเส้นด้ายไม่เห็นอาจจะลองทบด้ายเป็น 2 เส้นแล้วเย็บก็ได้นะคะ จะเย็บได้สะดวกขึ้นค่ะ

ทั้งนี้ ท่านใดจะเลือกใช้ด้ายแบบใดก็ตามชอบนะคะ


56. นำปากกามาวัดขนาดของช่องเสียบปากกาตามต้องการ


57. ท่านใดจะใช้ปากกาขนาดใหญ่มาวัดเลยก็ได้นะคะ เพราะทำให้ใส่ปากกาได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ค่ะ และช่องเสียบปากกาเหมาะสำหรับปากกาที่มีที่เสียบปากกา จึงไม่มีผลว่าหากช่องเสียบปากกาใหญ่แล้วจะเสียบปากกาขนาดเล็กไม่ได้นะคะ เพราะขนาดช่องเสียบปากกาถึงแม้จะมีขนาดใหญ่ก็ยังคงเสียบปากกาขนาดเล็กได้อยู่นะคะ แต่อาจจะเกิดปัญหาได้กรณีช่องเสียบปากกามีขนาดเล็กและปากกามีขนาดใหญ่นะคะ ทางร้านจึงแนะนำให้ใช้ปากกาด้ามใหญ่มาวัดเลยนะคะ


58. เย็บเนาช่องเสียบปากกาด้วยมือหรือจักรทั้งซ้ายและขวา

ข้อสังเกต: ด้านขวาเนาห่างหน่อยนะคะ เนื่องจากเราต้องการเนาไว้ให้สะดวกในตอนเย็บประกอบสมุดบันทึกนะคะ และต้องเลาะออกค่ะ

แต่การเนาที่เสียบปากกาด้านซ้ายสามารถเนาโดยใช้วิธีการเดียวกันกับการเนาช่องซิปตามข้อ 43 ได้เลยนะคะ โดยเราไม่จำเป็นต้องเลาะด้ายเนาออก เนื่องจากส่วนที่เนาไว้จะถูกตัดออกไปในตอนตัดริมผ้านะคะ


59. ถักเชือกกำมะหยี่สำหรับทำเป็นที่คั่น หนีบด้วยที่หนีบสายคล้องและนำมาคล้องกับหัวซิป/จี้ ลายตามชอบนะคะ

ข้อสังเกต: วิธีการทำที่คั่นใช้วิธีการทำคล้ายคลึงกันกับวิธีการทำสายคล้องนะคะ สามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ใน "วิธีการทำ Macaron ทรงกลม" นะคะ Click


60. นำที่คั่นมาวัดระยะความยาวตามต้องการ 

ข้อสังเกต: ทางร้านต้องการให้มีความยาวมาก และเมื่อพับสมุดบันทึกเก็บแล้วจะเห็นตุ้งติ้งห้อยออกมาด้วย จึงใช้ความยาวมากประมาณ 25 cm นะคะ (วัดจากเส้นแพทเทิร์นถึงที่หนีบสายคล้อง)

ท่านใดที่ต้องการให้สั้นลงจะทำที่คั่นให้มีความยาวสั้นลงก็ตามชอบนะคะ


61. เนาที่คาดติดกับผ้าซับใน


62. ตอกกระดุม Snap ตัวเมียบนสายคาดและนำสายคาดมาเนาติดกับผ้าชิ้นนอก

 

วิธีการตอกกระดุม Snap มีขั้นตอนดังนี้นะคะ

1. เตรียมอุปกรณ์ ตามรูป ดังนี้

      11.1 กระดุม Snap No.633 จำนวน 1 ชุุด Click

      11.2 ชุดตอกกระดุม Snap No.633 จำนวน 1 ชุด Click

 

 

 

2. วางฐานรอง

 

3. ใช้แท่งเจาะรู ตอกลงไปบนชิ้นงาน

 

4. วางชิ้นส่วนกระดุมที่เป็นลวดลายลงบนเบ้า

ข้อสังเกต: เบ้าจะมีลักษณะเว้าลงไปช่วยให้เวลาตอกกระดุมแล้วลายกระดุมจะไม่ยุบจนแบนราบนะคะ

 

5. นำชิ้นงานที่เจาะรูไว้ตามข้อ 3 มาวาง

 

6. วางกระดุมตัวเมีย

 

7. ตอกกระดุมตัวเมียโดยใช้แท่งตอกกระดุมตัวเมีย

ข้อสังเกต : แท่งตอกกระดุม Snap ตัวเมียจะมีลักษณะดังรูปนะคะ

 

8. ตอกกระดุมตัวเมียเสร็จเรียบร้อย ด้านหลังจะได้ดังรูปนะคะ

 

9. ด้านหน้าชิ้นงานเมื่อตอกกระดุมตัวเมียเสร็จเรียบร้อยค่ะ 


63. ตอกกระดุม Snap ตัวผู้บนผ้าชิ้นนอก

ข้อสังเกต: สำหรับการตอกกระดุมตัวผู้ก็ทำในทำนองเดียวกันกับกระดุมตัวเมียเลยนะคะ เพียงแต่ใช้แท่งตอกกระดุมตัวผู้ (แท่งตอกที่ปลายด้านหนึ่งมีลักษณะเว้า) ครอบลงกระดุมตัวผู้ในขณะตอกกระดุมนะคะ

ท่านใดจะใช้ผ้าเคมีกาวตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ แล้วนำมารองกระดุมตัวผู้ไว้ใต้ชิ้นงานก่อนตอกก็ได้นะคะ จะช่วยให้ผ้าไม่ขาดง่ายเวลาดึงกระดุมเปิด-ปิดชิ้นงานค่ะ


64. ตอกกระดุม Snap ทั้งตัวผู้และตัวเมียเสร็จเรียบร้อจะได้ดังรูปนะคะ


65. ประกบผ้าซับในและผ้าชิ้นนอก (ด้านผิดหันเข้าหากัน) กลัดเข็มหมุดตามแนวแพทเทิร์นแล้วเนาด้วยมือหรือจักรให้มีระยะห่างจากแพทเทิร์นประมาณ 2 mm เสร็จแล้วให้ตัดริมผ้าเผื่อตะเข็บไว้ประมาณ 0.7 cm นะคะ


66. ด้านในเมื่อตัดริมผ้าเสร็จเรียบร้อยค่ะ


67. รีดผ้ากุ๊นโดยใช้ซองกุ๊นแล้วนำผ้ากุ๊นมาเย็บกุ๊นโดยรอบ เว้นช่องสำหรับสอด Binder ไว้ตรงกลางทั้งด้านบน และด้านล่างนะคะ

ข้อสังเกต : วิธีการทำผ้ากุ๊นเพิ่มเติมโดยใช้ซองกุ๊น สามารถเข้าชมได้ในเกร็ดความรู้หัวข้อ "ขั้นตอนการทำผ้ากุ๊น" นะคะ Click


68. สังเกตการเว้นช่องสำหรับสอด Binder โดยกลัดผ้ากุ๊นไว้ตามรูปนะคะ


69. สอดฐานรองตอกเข้าไประหว่างใยกับผ้าซับใน

ข้อสังเกต: ในที่นี้ทางร้านใช้ฐานรองตอกแบบเดียวกับในชุดตอกกระดุม Snap No.633 นะคะ Click


70. นำหมุด Binder ตัวผู้สอดขึ้นมาให้ทะลุผ้าซับใน ตามที่ได้เจาะรูไว้ในขั้นตอนที่ 50 นะคะ


71. วาง Binder 


72. วางหมุด Binder ตัวเมียครอบลงบนหมุด Binder ตัวผู้


73. ตอกหมุด Binder ตัวเมียโดยใช้แท่งตอกและค้อนช่วยทุบ

ข้อสังเกต: การตอกหมุด Binder ควรใช้แท่งตอกหมุดโดยเฉพาะนะคะ เนื่องจากแท่งตอกจะเว้าบริเวณปลายด้านหนึ่ง ทำให้เวลาตอกหมุดแล้วหมุดจะไม่แบนไปด้วยค่ะ


74. ทำเช่นเดียวกันกับหมุดทั้ง 2 ฝั่งนะคะ


75. กลัดผ้ากุ๊นตามรูป แล้วเย็บตามแนวที่กลัดไว้


76. แบตะเข็บผ้ากุ๊นออก และเย็บปิดช่องกุ๊น


77. สอยกุ๊นให้เรียบร้อย


78. ตกแต่งด้านนอกกระเป๋า ดังนี้

     - ตาลูกหมี : เย็บโดยใช้ลูกปัดสีดำ ขนาด 3 mm จำนวน 2 เม็ด

     - เท้าลูกหมี : กระดุมผ้าขนาด 18 mm 

     - วงกลมตกแต่ง (4 วง) : กระดุมผ้าขนาด 24 mm

     - ก้านลูกโป่ง : ใช้ไหมปักปักแบบ "ลายโซ่"

ข้อสังเกต: วิธีการปักแบบลายโซ่สามารถเข้าชมเพิ่มเติมได้ในวิธีการทำกระเป๋าเคสโทรศัพท์ Christmas Rose Phone Case ขั้นตอนที่ 18 นะคะ Click


 

 

วิธีการเย็บกระดุมผ้าด้วยตนเอง

1. ตัดผ้าให้มีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของพลาสติกที่จะหุ้มประมาณ 2 เท่า

ข้อสังเกต: การตัดผ้าให้มีขนาดใหญ่กว่าพลาสติกประมาณ 2 เท่านี้จะช่วยให้เรามัดปมบริเวณกึ่งกลางของกระดุมได้ง่ายขึ้นนะคะ และผ้าจะหุ้มกระดุมเกือบทั้งหมดทำให้ชิ้นงานออกมาดูเรียบร้อยเนื่องจากไม่เห็นพลาสติกด้านในนะคะ แต่หากท่านใดที่ต้องการให้ผ้าหุ้มกระดุมพลาสติกน้อยลง หรือมากขึ้นจะลองตัดผ้าให้มีขนาดเล็กลง หรือมากขึ้นก็ได้นะคะ


2. เนาโดยรอบ ระยะห่างจากริมผ้าประมาณ 2-3 mm ระยะห่างระหว่างฝีเข็มประมาณ 3 mm


3. ดึงเส้นด้ายเข้าหากัน เพื่อรูดผ้าให้หุ้มกระดุมเข้ามาเป็นวงกลม


4. มัดปมให้เรียบร้อย


5. จะได้กระดุมหุ้มผ้าสำหรับตกแต่งตามรูปนะคะ 

ข้อสังเกต: ท่านใดจะนำไปใช้ตกแต่งหุ้มปลายซิป หรือ Key-Cover ก็ได้นะคะ


 

 

เสร็จเรียบร้อยค่ะ ^^

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่อุดหนุนสินค้าและติดตามผลงานของ Vanida Quilts มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ